ในสภาวะปัจจุบันสภาพดินในแปลงปลูกพืชทั่วไปมีความเสื่อมโทรมลงอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีอย่างหนัก โดยไม่เคยปรับปรุงบำรุงดิน จึงทำให้ประสบปัญหาการระบาดของโรคเชื้อราทางดิน ซึ่งเมื่อพืชเป็นโรคแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ การใช้สารเคมีจึงเป็นการสิ้นเปลืองและไม่คุ้มค่า
นอกจากนั้นยังทำให้เกิดปัญหาหลายประการ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เพื่อป้องกันกำจัดโรคร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน จึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในขณะนี้ เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อย และยังมีความปลอดภัยสูง วิธีการนี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งสำหรับเกษตร
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า คือเชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหารโดยไม่มีอันตรายกับพืช คน สัตว์และแมลง เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า หลายชนิดมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มากต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี
การทำงานของไตรโคเดอร์ม่า
1. เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว
2. เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดและแทงดูดกินน้ำเลี้ยง จากเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยสลายลดการขยายเผ่าพันธุ์ลง
3. สร้างสารพิษ น้ำย่อย ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา โรคพืชเหี่ยวสลาย และตายในที่สุด
สำหรับในนาข้าวมักจะมีโรคที่เกี่ยวกับเชื้อรา เช่น รากเน่า โคนเน่า ซึ่งสาเหตุมากจากการที่ชาวนาเผาที่นาเตรียมดิน ทำให้จุลินทรีย์ที่ดีตายไปด้วย จุลินทรีย์ที่ดีตัวหนึ่งก็คือเชื้อรา "ไตรโคเดอร์มา" เป็นจุลินทรีย์ชนิดดี จะไปแย่งการเติบโตกับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในนาข้าว ทำให้เชื้อโรคร้ายไม่สามารถเติบโตได้ เป็นผลดีต่อการทำนาในระยะยาว ชาวนาจึงควรที่จะเตรียมดินด้วยการไถกลบตอซังข้าว มากกว่าเผา ที่นอกจากจะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศแล้ว ยังไปตัดวงจรจุลินทรีย์ที่ดีในนาข้าวด้วยครับ... ไว้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับการใช้ไตรโคเดอร์มากันใหม่ในคราวต่อๆ ไปครับ
นอกจากนั้นยังทำให้เกิดปัญหาหลายประการ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เพื่อป้องกันกำจัดโรคร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน จึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในขณะนี้ เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อย และยังมีความปลอดภัยสูง วิธีการนี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งสำหรับเกษตร
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า คือเชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหารโดยไม่มีอันตรายกับพืช คน สัตว์และแมลง เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า หลายชนิดมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารได้มากต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี
การทำงานของไตรโคเดอร์ม่า
1. เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว
2. เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดและแทงดูดกินน้ำเลี้ยง จากเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยสลายลดการขยายเผ่าพันธุ์ลง
3. สร้างสารพิษ น้ำย่อย ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา โรคพืชเหี่ยวสลาย และตายในที่สุด
สำหรับในนาข้าวมักจะมีโรคที่เกี่ยวกับเชื้อรา เช่น รากเน่า โคนเน่า ซึ่งสาเหตุมากจากการที่ชาวนาเผาที่นาเตรียมดิน ทำให้จุลินทรีย์ที่ดีตายไปด้วย จุลินทรีย์ที่ดีตัวหนึ่งก็คือเชื้อรา "ไตรโคเดอร์มา" เป็นจุลินทรีย์ชนิดดี จะไปแย่งการเติบโตกับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในนาข้าว ทำให้เชื้อโรคร้ายไม่สามารถเติบโตได้ เป็นผลดีต่อการทำนาในระยะยาว ชาวนาจึงควรที่จะเตรียมดินด้วยการไถกลบตอซังข้าว มากกว่าเผา ที่นอกจากจะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศแล้ว ยังไปตัดวงจรจุลินทรีย์ที่ดีในนาข้าวด้วยครับ... ไว้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับการใช้ไตรโคเดอร์มากันใหม่ในคราวต่อๆ ไปครับ
No comments:
Post a Comment